วันจันทร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2558

แกะกล่อง Coban GPS104 ติดตามสิ่งของ สแตนบาย 12 เดือน

แกะกล่อง Coban GPS104 ติดตามสิ่งของ สแตนบาย 12 เดือน

GPS TRACKING
ยินดีต้อนรับสู่เวบบล็อกมาตรฐาน ของคนทำจีพีเอสติดตามรถยนต์ โจทย์ของผู้เขียน ต้องการทดสอบระบบติดตามสิ่งของเพื่อใช้ติดตามการขนส่งสินค้า ต้องใช้ระยะเวลานาน อย่างน้อย 15 วัน เพื่อป้องกันสินค้าสูญหาย งานเริ่มจะยุ่งยากเพิ่มมากขึ้นเพราะอุปกรณ์ที่ว่านี้ต้องมีแบตเตอรี่ที่มีความจุสูงมาก ที่สำคัญต้องมีคุณภาพดี เพราะตั้งใจนำเข้ามาจำหน่าย ผู้เขียนได้สั่งสินค้าจากอีเบย์ พบความยุ่งยากในการสั่งซื้อสินค้าทดสอบ เพราะไม่มั่นใจว่าสินค้ามาจากโรงงาน Coban โดยตรงหรือไม่  กล่าวสั้นๆว่า โรงงาน Coban เองไม่ยอมขายสินค้าทดรองสั่งเพื่อทดสอบ พูดง่ายๆ สั่งน้อยๆ ไม่ได้ต้องมีปริมาณ
หลังจากรอประมาณ 10 วันสินค้าก็เข้ามา ผู้เขียนไม่รอช้ารีบทำการแกะกล่อง Coban GPS104 ติดตามสิ่งของ สแตนบายโหมดนอนปกติ 4 เดือนหากใช้โหมดนอนนานสามารถสแตนบายได้ถึง 12 เดือน โดยความจุแบตเตอรี่ขนาด 6,000 มิลลิเแอมป์  Coban GPS104 ประกอบไปด้วยอุปกรณ์ภายในกล่องดังต่อไปนี้
GPS TRACKING
1. ตัวเครื่อง GPS 104
GPS TRACKER
2. เอซีอแดปเตอร์ อินพุท AC: 110 – 220 โวลต์ Output DC: 1.5A 12V
gps tracker
3. อแดปเตอร์ชาร์จในรถยนต์
gps tracker
4. สายอากาศจีพีเอส
gps tracking
5. สายอากาศจีเอสเอ็ม
gps tracker
6. สายไฟเครื่อง
gps tracker
7. รีเลย์
8. คู่มือภาษาอังกฤษ
9. ซองพลาสติกกันน้ำ
gps tracking
10. แผ่นซีดี
คุณลักษณะสมบัติ
เนื้อหา,คุณสมบัติ
มิติ, 94x60x38 มิลลิเมตร
น้ำหนัก, 300 กรัม
เครือข่าย, GSM/GPRS
แบนด์, 850/900/1800/1900Mhz
โมดูลจีพีเอส, ชิบ SIRF3
ความไวจีพีเอส, -159dBm
ความแม่นยำจีพีเอส, 5 เมตร
เวลาในการเปิดเครื่อง, เครื่องเย็น 45 วินาที เครื่องเปิด 1 วินาที
แหล่งจ่ายภายนอก, DC 12 -24 โวลต์
กระแสไฟฟ้าขณะทำงาน, ขณะหลับ 1.8 มิลลิแอมป์ ขณะหลับนาน 0.6 มิลลิแอมป์ กระแสไฟฟ้าจีเอสเอ็ม 68 มิลลิแอมป์ +-3มิลลิแอมป์ กระแสไฟฟ้าจีพีเอส 82 มิลลิแอมป์ +-3มิลลิแอมป์
แบตเตอรี่, 3.7 โวลต์ 6,000 มิลลิแอมป์ โพลีเอสเตอร์
กระแสชาร์จ, 1 แอมป์ +- 0.2 แอมป์
เวลาสแตนบาย, ขณะหลับ 4 เดือน ขณะหลับนาน 12 เดือน
อุณหภูมิสตรอเรจ, -40 – +85 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิขณะทำงาน, -20 – +65 องศาเซลเซียส
ความชื้นสัมพัทธ์, 5% – 95% ไม่มีความกดอากาศ
1. ขั้นตอนการกำหนดค่าให้อุปกรณ์เชื่อมต่อระบบ GPRS โหมดออนไลน์
ขั้นตอนที่ 1.1 ตั้งค่า APN
รูปแบบคำสั่ง “APN+password+space+APN” หากส่งคำสั่งสมบูรณ์จะได้รับข้อความ “APN OK”
ตัวอย่าง APN123456 internet
ขั้นตอนที่ 1.2 ตั้งค่าชื่อผู้ใช้และรหัสผ่าน GPRS
รูปแบบคำสั่ง “up+password+space+user+space+password”
ตัวอย่าง up123456 true true
ขั้นตอนที่ 1.3 ตั้งค่าไอพีแอดเดรสและพอร์ต
รูปแบบคำสั่ง “adminip+password+space+IP+space+port”
ตัวอย่าง adminip123456 122.155.210.37 22022
ขั้นตอนที่ 1.4 เปลี่ยนโหมดจาก “SMS” ไปเป็น “GPRS”
รูปแบบคำสั่ง “GPRS+password”
ตัวอย่าง GPRS123456
ขั้นตอนที่ 1.5 การควบคุมโหมดใช้ GPRS น้อย
รูปแบบคำสั่ง “less+gprs+password+on” เปิด หรือ “less+gprs+password+off” ปิด ในโหมดนี้แทร็กเกอร์จะเปลี่ยนเป็นโหมดใช้ GPRS น้อยเมื่อจอดรถนาน 10 นาที GPRS จะหยุดการเชื่อมต่อและจะเชื่อมต่ออีกครั้งเมื่อมีสัญญาณเตือนหรือเริ่มการขับขี่

2. ขั้นตอนการกำหนดค่าให้อุปกรณ์เชื่อมต่อระบบ SMS เฉพาะครั้ง โหมดออฟไลน์
2.1 ฟังก์ชั่น เปิด/ปิด เครื่อง
ขณะปิดเครื่องอยู่ เปิดสวิทช์ในตำแหน่งเปิด หลอดแอลอีดีทั้งสามหลอดจะกระพริบ 1 ครั้ง หมายความเครื่องเปิดพร้อมใช้งาน
2.2 เริ่มระบบใหม่
ให้ส่งข้อความสั้น “begin+password” ไปยังอุปกรณ์แทร็กเกอร์ มันจะตอบกลับมาว่า “begin ok” และจะคืนค่าตั้งต้นโรงงาน ค่าดีฟอลต์พาสเวิร์ดคือ 123456 ตัวอย่างการส่งข้อความสั้น “begin123456″
2.3 เปลี่ยนรหัสผ่าน
ให้ส่งข้อความสั้น “password+old password+space+new password” ไปยังแทร็กเกอร์ มันจะตอบกลับมาว่า “password ok”
ตัวอย่างการส่งข้อความสั้น “password123456 888888″ จะเป็นการเปลี่ยนรหัสผ่านจาก “123456″ ไปเป็น “888888″ รหัสใหม่ต้องเป็นตัวเลขอาระบิคขนาด 6 ตัว
2.4 เพิ่มและลบเบอร์ที่ได้รับอนุญาต
2.4.1 เบอร์ที่ได้รับอนุญาตคือเบอร์ที่ถูกใช้สำหรับแทร็กเกอร์ สำหรับ ติดตาม, ควบคุม, รับสัญญาณเตือน และอนุญาตให้เฉพาะ 5 หมายเลขเท่านั้น
2.4.2 สำหรับเบอร์ที่ได้รับอนุญาตเบอร์แรก เป็นเบอร์ที่โทรเข้าและติดตามอุปกรณ์แทร็กเกอร์จำนวน 10 ครั้ง มันจะตอบกลับแบบอัตโนมัติว่า “add master ok”
2.4.3 เบอร์ที่ได้รับอนุญาต ให้ส่งข้อความสั้น “admin+password+space+cell phone number” เพื่อกำหนดค่าเบอร์ที่ได้รับอนุญาต มันจะส่งข้อความกลับมาว่า “admin OK”
ตัวอย่างการส่งข้อความสั้น “admin123456 0910021222″  หมายเลขโทรศัพท์ 0910002122 จะเป็นเบอร์ที่ได้รับอนุญาต
2.4.4 ลบเบอร์ที่ได้รับอนุญาต ให้ส่งข้อความสั้น “noadmin+password+space+authorized number” เพื่อยกเลิกเบอร์ที่ได้รับอนุญาต
ตัวอย่างการส่งข้อความสั้นเพื่อยกเลิกเบอร์ที่ได้รับอนุญาต “noadmin123456 0910021222″
2.5 แสดงตำแหน่ง
เมื่อมีการโทรเข้าไปยังอุปกรณ์แทร็กเกอร์ มันจะตอบกลับมาเป็นข้อความสั้นประกอบไปด้วย ตำแหน่งของละติจูดและลองกิจูด หากไม่มีการตั้งค่าเบอร์ที่ได้รับอนุญาตในข้อที่ 2.4 หากมีการตั้งเบอร์โทรที่ได้รับอนุญาตสมบูรณ์อุปกรณ์แทร็กเกอร์จะไม่ส่งพิกัดไปยังเบอร์โทรที่ไม่ได้รับอนุญาต หากมีการโทรเข้าไปยังอุปกรณ์แทร็กเกอร์จากเบอร์โทรที่ได้รับอนุญาต อุปกรณ์แทร็กเกอร์จะทำการยกหูและส่งข้อความสั้นกลับแบบเวลาจริง เพื่อแสดงละติจูด ลองกิจูด ความเร็ว ค่าLAC และวันที่เวลา
2.6 ติดตามอัตโนมัติแบบต่อเนื่อง
2.6.1 ติดตามแบบจำกัดจำนวนครั้งในระยะเวลาที่กำหนด
การติดตามแบบจำกัดเวลาต้องส่งคำสั่ง “fix030s005n+password” ไปยังอุปกรณ์แทร็กเกอร์ มันจะส่งรายงานค่าละติจูดและลองกิจูดทุกๆ 30 วินาทีเป็นจำนวน 5 ครั้ง ค่าที่ตั้งได้เป็นตัวเลข 3 หลัก ระหว่าง 0-255
2.6.2 ติดตามแบบไม่จำกัดจำนวนครั้งในระยะเวลาที่กำหนด
การติดตามแบบไม่จำกัดเวลาทำได้โดยส่งคำสั่ง “fix030s***n+password” ไปยังอุปกรณ์ มันจะส่งรายงานค่าละติจูดและลองกิจูดทุกๆ 30 วินาทีโดยไม่จำกัดจำนวนครั้ง
2.6.3 ติดตามแบบฉลาดขึ้นอยู่กับระยะเวลาและระยะทาง
2.6.3.1 ให้ทำการกำหนด “track” ด้วยเวลาไม่จำกัดก่อน  และจากนั้นให้ส่งคำสั่ง “distance+password+space+distance” อุปกรณ์จะตอบกลับว่า “Distance ok” โดยอุปกรณ์จะส่งรายงานตำแหน่งแบบเวลาและระยะทาง
2.6.4 ยกเลิกการติดตาม
การยกเลิกการติดตามให้ส่งคำสั่ง “nofix+password” ไปยังอุปกรณ์แทร็กเกอร์
2.7 อัพเดทตำแหน่งอัตโนมัติหากรถยนต์เลี้ยว
2.7.1  อุปกรณ์แทร็กเกอร์จะส่งค่าตำแหน่งอัตโนมัติไปยังเซิร์ฟเวอร์ เมื่อรถยนต์เลี้ยวหรือเปลี่ยนทิศทางเกินกว่าค่ามุมที่ตั้งไว้บนถนนจริง ฟังก์ชั่นการทำงานนี้มีผลเฉพาะโหมดออนไลน์ GPRS
2.7.2 ให้ส่งคำสั่ง “angle+password+space+angle” ไปยังอุปกรณ์แทร็กเกอร์ มันจะตอบกลับมาว่า “angle ok”
2.7.3 มุมต้องเป็นตัวเลขอาระบิค 3 หลัก ค่าเริ่มต้นของโรงงานคือ 30 องศา
2.8 อัพเดทตำแหน่งเมื่อมีการขยับพิกัด GPS
2.8.1  ฟังก์ชั่นนี้จะถูกปิดโดยดีฟอลต์ หากต้องการเปิดใช้งานให้ส่งคำสั่ง “suppress+password” มันจะตอบกลับข้อความว่า “suppress drift ok” ข้อมูลตำแหน่งจะหยุดการอัพเดทเมื่อยานพาหนะหยุดนิ่งโดยค่าละติจูดและลองกิจูดยังเป็นค่าเดิม หากยานพาหนะเคลื่อนที่จีพีเอสจะอัพเดทตำแหน่งอัตโมมัติ
2.8.2 การยกเลิกฟังก์ชั่นนี้ให้ส่งคำสั่ง “nosuppress+password” อุปกรณ์แทร็กเกอร์จะตอบกลับมาว่า “nosuppress ok”
2.9 รับค่าตำแหน่งจากแอบโซลูทแอดเดรส
การเปิดใช้งานการรับค่าตำแหน่งจากเครือข่าย GSM ต้องทำการตั้งค่า APN ของแต่ละซิมการ์ดให้ถูกต้องก่อน บางเครือข่าย GSM ต้องระบุชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านด้วย การเรียกใช้งานทำได้โดยส่งคำสั่ง “address+password” อุปกรณ์จะส่งค่าแอบโซลูทแอดเดรสรวมทั้งชื่อถนนมาด้วย
2.10 Location Based Service (LBS)
เมื่ออุปกรณ์แทร็กเกอร์ไม่ได้รับสัญญาณ GPS มันจะใช้วิธีการระบุตำแหน่งโดยใช้ LBS ในโหมด SMS ข้อความจะประกอบไปด้วย พิกัด GPS เดิมแต่จะส่งข้อมูล LAC ล่าสุด อย่างไรก็ตามสามารถส่งคำสั่ง “address+password” เพื่อรับค่าแอบโซลูทแอดเดรสและพิกัดได้เช่นเดียวกัน แทร็กเกอร์จะเปลี่ยนไปใช้การติดตามแบบ LAC โดยอัตโนมัติหากตั้งโหมดแบบ GPRS ข้อมูลที่ได้รับบนเครื่องเซิร์ฟเวอร์อาจจะไม่ใช่ตำแหน่งที่ถูกต้อง ข้อผิดพลาดขึ้นอยู่กับภาครับของ GSM
2.11 เช็คสถานะของยานพาหนะ
โดยส่งคำสั่ง “check+password” ไปยังแทร็กเกอร์เพื่อตรวจสอบสถานะการชาร์จ, สถานะแบตเตอรี่, สถานะ GPS และสถานะการรับสัญญาณ GSM ตัวอย่างการส่งข้อความเพื่อเช็คสถานะของยานพาหนะ “check123456″ แทร็กเกอร์จะตอบกลับมาตามตัวอย่าง
Power: Power off/charging/charge finish
Battery: 100%
GPS: OK/NO GPS
GSM signal: 1-32 (ตัวเลขมากแสดงค่าความแรงของสัญญาณ GSM)
2.12 ตรวจสอบ IMEI
ให้ส่งคำสั่ง “imei+password” ไปยังแทร็กเกอร์ หลังจากนั้นแทร็กเกอร์จะส่งหมายเลข IMEI ขนาด 15 หลักกลับมา
2.13 กำหนดค่าเวลาเทอร์มินอล
ให้ส่งคำสั่ง “time+space+zone+password+space+time” ไปยังแทร็กเกอร์ ถ้าส่งข้อความสำเร็จ อุปกรณ์จะตอบกลับมาว่า “time OK” ยกตัวอย่างการส่งค่าเวลาของประเทศไทย “time zone123456 7″ หรือหากว่าอยู่ในช่วงเวลาที่ติดลบก็สามารถใส่เครื่องหมายลบนำหน้าได้เช่น -8
สำหรับเนื้อหาตามคู่มือผู้เขียนจะได้ทะยอยอัพเดทเพิ่มเติมให้อีกครั้งในลำดับต่อไป นอกจากนี้หากต้องการศึกษาข้อมูลเปรียบเทียบอุปกรณ์ TRACKERS อื่นๆอีกที่ผู้เขียนได้เคยทดสอบ ตามลิงค์นี้ครับ thaigpstrack สร้างจากประสพการณ์จริง ผ่านการลองผิดลองถูกมาหลายครั้ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น