ยินดีต้อนรับสู่เวบบล็อกมาตรฐาน ของคนทำจีพีเอสติดตามรถยนต์ โจทย์ของผู้เขียน ต้องการทดสอบระบบติดตามสิ่งของเพื่อใช้ติดตามการขนส่งสินค้า ต้องใช้ระยะเวลานาน อย่างน้อย 15 วัน เพื่อป้องกันสินค้าสูญหาย งานเริ่มจะยุ่งยากเพิ่มมากขึ้นเพราะอุปกรณ์ที่ว่านี้ต้องมีแบตเตอรี่ที่มีความจุสูงมาก ที่สำคัญต้องมีคุณภาพดี เพราะตั้งใจนำเข้ามาจำหน่าย ผู้เขียนได้สั่งสินค้าจากอีเบย์ พบความยุ่งยากในการสั่งซื้อสินค้าทดสอบ เพราะไม่มั่นใจว่าสินค้ามาจากโรงงาน Coban โดยตรงหรือไม่ กล่าวสั้นๆว่า โรงงาน Coban เองไม่ยอมขายสินค้าทดรองสั่งเพื่อทดสอบ พูดง่ายๆ สั่งน้อยๆ ไม่ได้ต้องมีปริมาณ
หลังจากรอประมาณ 10 วันสินค้าก็เข้ามา ผู้เขียนไม่รอช้ารีบทำการแกะกล่อง Coban GPS104 ติดตามสิ่งของ สแตนบายโหมดนอนปกติ 4 เดือนหากใช้โหมดนอนนานสามารถสแตนบายได้ถึง 12 เดือน โดยความจุแบตเตอรี่ขนาด 6,000 มิลลิเแอมป์ Coban GPS104 ประกอบไปด้วยอุปกรณ์ภายในกล่องดังต่อไปนี้
1. ตัวเครื่อง GPS 104
2. เอซีอแดปเตอร์ อินพุท AC: 110 – 220 โวลต์ Output DC: 1.5A 12V
3. อแดปเตอร์ชาร์จในรถยนต์
4. สายอากาศจีพีเอส
5. สายอากาศจีเอสเอ็ม
6. สายไฟเครื่อง
7. รีเลย์
8. คู่มือภาษาอังกฤษ
9. ซองพลาสติกกันน้ำ
10. แผ่นซีดี
คุณลักษณะสมบัติ
เนื้อหา,คุณสมบัติ
มิติ, 94x60x38 มิลลิเมตร
น้ำหนัก, 300 กรัม
เครือข่าย, GSM/GPRS
แบนด์, 850/900/1800/1900Mhz
โมดูลจีพีเอส, ชิบ SIRF3
ความไวจีพีเอส, -159dBm
ความแม่นยำจีพีเอส, 5 เมตร
เวลาในการเปิดเครื่อง, เครื่องเย็น 45 วินาที เครื่องเปิด 1 วินาที
แหล่งจ่ายภายนอก, DC 12 -24 โวลต์
กระแสไฟฟ้าขณะทำงาน, ขณะหลับ 1.8 มิลลิแอมป์ ขณะหลับนาน 0.6 มิลลิแอมป์ กระแสไฟฟ้าจีเอสเอ็ม 68 มิลลิแอมป์ +-3มิลลิแอมป์ กระแสไฟฟ้าจีพีเอส 82 มิลลิแอมป์ +-3มิลลิแอมป์
แบตเตอรี่, 3.7 โวลต์ 6,000 มิลลิแอมป์ โพลีเอสเตอร์
กระแสชาร์จ, 1 แอมป์ +- 0.2 แอมป์
เวลาสแตนบาย, ขณะหลับ 4 เดือน ขณะหลับนาน 12 เดือน
อุณหภูมิสตรอเรจ, -40 – +85 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิขณะทำงาน, -20 – +65 องศาเซลเซียส
ความชื้นสัมพัทธ์, 5% – 95% ไม่มีความกดอากาศ
1. ขั้นตอนการกำหนดค่าให้อุปกรณ์เชื่อมต่อระบบ GPRS โหมดออนไลน์
ขั้นตอนที่ 1.1 ตั้งค่า APN
รูปแบบคำสั่ง “APN+password+space+APN” หากส่งคำสั่งสมบูรณ์จะได้รับข้อความ “APN OK”
ตัวอย่าง APN123456 internet
ขั้นตอนที่ 1.2 ตั้งค่าชื่อผู้ใช้และรหัสผ่าน GPRS
รูปแบบคำสั่ง “up+password+space+user+space+password”
ตัวอย่าง up123456 true true
ขั้นตอนที่ 1.3 ตั้งค่าไอพีแอดเดรสและพอร์ต
รูปแบบคำสั่ง “adminip+password+space+IP+space+port”
ตัวอย่าง adminip123456 122.155.210.37 22022
ขั้นตอนที่ 1.4 เปลี่ยนโหมดจาก “SMS” ไปเป็น “GPRS”
รูปแบบคำสั่ง “GPRS+password”
ตัวอย่าง GPRS123456
ขั้นตอนที่ 1.5 การควบคุมโหมดใช้ GPRS น้อย
รูปแบบคำสั่ง “less+gprs+password+on” เปิด หรือ “less+gprs+password+off” ปิด ในโหมดนี้แทร็กเกอร์จะเปลี่ยนเป็นโหมดใช้ GPRS น้อยเมื่อจอดรถนาน 10 นาที GPRS จะหยุดการเชื่อมต่อและจะเชื่อมต่ออีกครั้งเมื่อมีสัญญาณเตือนหรือเริ่มการขับขี่
2. ขั้นตอนการกำหนดค่าให้อุปกรณ์เชื่อมต่อระบบ SMS เฉพาะครั้ง โหมดออฟไลน์
2.1 ฟังก์ชั่น เปิด/ปิด เครื่อง
ขณะปิดเครื่องอยู่ เปิดสวิทช์ในตำแหน่งเปิด หลอดแอลอีดีทั้งสามหลอดจะกระพริบ 1 ครั้ง หมายความเครื่องเปิดพร้อมใช้งาน
2.2 เริ่มระบบใหม่
ให้ส่งข้อความสั้น “begin+password” ไปยังอุปกรณ์แทร็กเกอร์ มันจะตอบกลับมาว่า “begin ok” และจะคืนค่าตั้งต้นโรงงาน ค่าดีฟอลต์พาสเวิร์ดคือ 123456 ตัวอย่างการส่งข้อความสั้น “begin123456″
2.3 เปลี่ยนรหัสผ่าน
ให้ส่งข้อความสั้น “password+old password+space+new password” ไปยังแทร็กเกอร์ มันจะตอบกลับมาว่า “password ok”
ตัวอย่างการส่งข้อความสั้น “password123456 888888″ จะเป็นการเปลี่ยนรหัสผ่านจาก “123456″ ไปเป็น “888888″ รหัสใหม่ต้องเป็นตัวเลขอาระบิคขนาด 6 ตัว
2.4 เพิ่มและลบเบอร์ที่ได้รับอนุญาต
2.4.1 เบอร์ที่ได้รับอนุญาตคือเบอร์ที่ถูกใช้สำหรับแทร็กเกอร์ สำหรับ ติดตาม, ควบคุม, รับสัญญาณเตือน และอนุญาตให้เฉพาะ 5 หมายเลขเท่านั้น
2.4.2 สำหรับเบอร์ที่ได้รับอนุญาตเบอร์แรก เป็นเบอร์ที่โทรเข้าและติดตามอุปกรณ์แทร็กเกอร์จำนวน 10 ครั้ง มันจะตอบกลับแบบอัตโนมัติว่า “add master ok”
2.4.3 เบอร์ที่ได้รับอนุญาต ให้ส่งข้อความสั้น “admin+password+space+cell phone number” เพื่อกำหนดค่าเบอร์ที่ได้รับอนุญาต มันจะส่งข้อความกลับมาว่า “admin OK”
ตัวอย่างการส่งข้อความสั้น “admin123456 0910021222″ หมายเลขโทรศัพท์ 0910002122 จะเป็นเบอร์ที่ได้รับอนุญาต
2.4.4 ลบเบอร์ที่ได้รับอนุญาต ให้ส่งข้อความสั้น “noadmin+password+space+authorized number” เพื่อยกเลิกเบอร์ที่ได้รับอนุญาต
ตัวอย่างการส่งข้อความสั้นเพื่อยกเลิกเบอร์ที่ได้รับอนุญาต “noadmin123456 0910021222″
2.5 แสดงตำแหน่ง
เมื่อมีการโทรเข้าไปยังอุปกรณ์แทร็กเกอร์ มันจะตอบกลับมาเป็นข้อความสั้นประกอบไปด้วย ตำแหน่งของละติจูดและลองกิจูด หากไม่มีการตั้งค่าเบอร์ที่ได้รับอนุญาตในข้อที่ 2.4 หากมีการตั้งเบอร์โทรที่ได้รับอนุญาตสมบูรณ์อุปกรณ์แทร็กเกอร์จะไม่ส่งพิกัดไปยังเบอร์โทรที่ไม่ได้รับอนุญาต หากมีการโทรเข้าไปยังอุปกรณ์แทร็กเกอร์จากเบอร์โทรที่ได้รับอนุญาต อุปกรณ์แทร็กเกอร์จะทำการยกหูและส่งข้อความสั้นกลับแบบเวลาจริง เพื่อแสดงละติจูด ลองกิจูด ความเร็ว ค่าLAC และวันที่เวลา
2.6 ติดตามอัตโนมัติแบบต่อเนื่อง
2.6.1 ติดตามแบบจำกัดจำนวนครั้งในระยะเวลาที่กำหนด
การติดตามแบบจำกัดเวลาต้องส่งคำสั่ง “fix030s005n+password” ไปยังอุปกรณ์แทร็กเกอร์ มันจะส่งรายงานค่าละติจูดและลองกิจูดทุกๆ 30 วินาทีเป็นจำนวน 5 ครั้ง ค่าที่ตั้งได้เป็นตัวเลข 3 หลัก ระหว่าง 0-255
2.6.2 ติดตามแบบไม่จำกัดจำนวนครั้งในระยะเวลาที่กำหนด
การติดตามแบบไม่จำกัดเวลาทำได้โดยส่งคำสั่ง “fix030s***n+password” ไปยังอุปกรณ์ มันจะส่งรายงานค่าละติจูดและลองกิจูดทุกๆ 30 วินาทีโดยไม่จำกัดจำนวนครั้ง
2.6.3 ติดตามแบบฉลาดขึ้นอยู่กับระยะเวลาและระยะทาง
2.6.3.1 ให้ทำการกำหนด “track” ด้วยเวลาไม่จำกัดก่อน และจากนั้นให้ส่งคำสั่ง “distance+password+space+distance” อุปกรณ์จะตอบกลับว่า “Distance ok” โดยอุปกรณ์จะส่งรายงานตำแหน่งแบบเวลาและระยะทาง
2.6.4 ยกเลิกการติดตาม
การยกเลิกการติดตามให้ส่งคำสั่ง “nofix+password” ไปยังอุปกรณ์แทร็กเกอร์
2.7 อัพเดทตำแหน่งอัตโนมัติหากรถยนต์เลี้ยว
2.7.1 อุปกรณ์แทร็กเกอร์จะส่งค่าตำแหน่งอัตโนมัติไปยังเซิร์ฟเวอร์ เมื่อรถยนต์เลี้ยวหรือเปลี่ยนทิศทางเกินกว่าค่ามุมที่ตั้งไว้บนถนนจริง ฟังก์ชั่นการทำงานนี้มีผลเฉพาะโหมดออนไลน์ GPRS
2.7.2 ให้ส่งคำสั่ง “angle+password+space+angle” ไปยังอุปกรณ์แทร็กเกอร์ มันจะตอบกลับมาว่า “angle ok”
2.7.3 มุมต้องเป็นตัวเลขอาระบิค 3 หลัก ค่าเริ่มต้นของโรงงานคือ 30 องศา
2.8 อัพเดทตำแหน่งเมื่อมีการขยับพิกัด GPS
2.8.1 ฟังก์ชั่นนี้จะถูกปิดโดยดีฟอลต์ หากต้องการเปิดใช้งานให้ส่งคำสั่ง “suppress+password” มันจะตอบกลับข้อความว่า “suppress drift ok” ข้อมูลตำแหน่งจะหยุดการอัพเดทเมื่อยานพาหนะหยุดนิ่งโดยค่าละติจูดและลองกิจูดยังเป็นค่าเดิม หากยานพาหนะเคลื่อนที่จีพีเอสจะอัพเดทตำแหน่งอัตโมมัติ
2.8.2 การยกเลิกฟังก์ชั่นนี้ให้ส่งคำสั่ง “nosuppress+password” อุปกรณ์แทร็กเกอร์จะตอบกลับมาว่า “nosuppress ok”
2.9 รับค่าตำแหน่งจากแอบโซลูทแอดเดรส
การเปิดใช้งานการรับค่าตำแหน่งจากเครือข่าย GSM ต้องทำการตั้งค่า APN ของแต่ละซิมการ์ดให้ถูกต้องก่อน บางเครือข่าย GSM ต้องระบุชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านด้วย การเรียกใช้งานทำได้โดยส่งคำสั่ง “address+password” อุปกรณ์จะส่งค่าแอบโซลูทแอดเดรสรวมทั้งชื่อถนนมาด้วย
2.10 Location Based Service (LBS)
เมื่ออุปกรณ์แทร็กเกอร์ไม่ได้รับสัญญาณ GPS มันจะใช้วิธีการระบุตำแหน่งโดยใช้ LBS ในโหมด SMS ข้อความจะประกอบไปด้วย พิกัด GPS เดิมแต่จะส่งข้อมูล LAC ล่าสุด อย่างไรก็ตามสามารถส่งคำสั่ง “address+password” เพื่อรับค่าแอบโซลูทแอดเดรสและพิกัดได้เช่นเดียวกัน แทร็กเกอร์จะเปลี่ยนไปใช้การติดตามแบบ LAC โดยอัตโนมัติหากตั้งโหมดแบบ GPRS ข้อมูลที่ได้รับบนเครื่องเซิร์ฟเวอร์อาจจะไม่ใช่ตำแหน่งที่ถูกต้อง ข้อผิดพลาดขึ้นอยู่กับภาครับของ GSM
2.11 เช็คสถานะของยานพาหนะ
โดยส่งคำสั่ง “check+password” ไปยังแทร็กเกอร์เพื่อตรวจสอบสถานะการชาร์จ, สถานะแบตเตอรี่, สถานะ GPS และสถานะการรับสัญญาณ GSM ตัวอย่างการส่งข้อความเพื่อเช็คสถานะของยานพาหนะ “check123456″ แทร็กเกอร์จะตอบกลับมาตามตัวอย่าง
Power: Power off/charging/charge finish
Battery: 100%
GPS: OK/NO GPS
GSM signal: 1-32 (ตัวเลขมากแสดงค่าความแรงของสัญญาณ GSM)
2.12 ตรวจสอบ IMEI
ให้ส่งคำสั่ง “imei+password” ไปยังแทร็กเกอร์ หลังจากนั้นแทร็กเกอร์จะส่งหมายเลข IMEI ขนาด 15 หลักกลับมา
2.13 กำหนดค่าเวลาเทอร์มินอล
ให้ส่งคำสั่ง “time+space+zone+password+space+time” ไปยังแทร็กเกอร์ ถ้าส่งข้อความสำเร็จ อุปกรณ์จะตอบกลับมาว่า “time OK” ยกตัวอย่างการส่งค่าเวลาของประเทศไทย “time zone123456 7″ หรือหากว่าอยู่ในช่วงเวลาที่ติดลบก็สามารถใส่เครื่องหมายลบนำหน้าได้เช่น -8
สำหรับเนื้อหาตามคู่มือผู้เขียนจะได้ทะยอยอัพเดทเพิ่มเติมให้อีกครั้งในลำดับต่อไป นอกจากนี้หากต้องการศึกษาข้อมูลเปรียบเทียบอุปกรณ์ TRACKERS อื่นๆอีกที่ผู้เขียนได้เคยทดสอบ ตามลิงค์นี้ครับ
thaigpstrack สร้างจากประสพการณ์จริง ผ่านการลองผิดลองถูกมาหลายครั้ง